หลังจากที่ติดตั้ง MOP เรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งโดยหัวหน้า ผู้จัดการ CEO หรือทำกันเป็นทีมโดยมีผู้ใต้บังคับบัญชามาร่วมตั้งด้วยก็ตาม สิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ก็คือ การติดตาม ซึ่ง MOP จะประสบความสำเร็จไม่ได้ ถ้าปราศจากการติดตาม หรือติดตามอย่างไม่มี วินัย
เนื่องจาก Objective นั้น ผู้เขียนเสนอให้มี จุดเริ่มและมีจุดสำเร็จ อย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรม และถ้าไม่สามารถมี Objective ที่เป็นตัวเลขได้ก็ขอให้มีอยู่ใน Strategy บางข้อ ที่สามารถระบุเป็นตัวเลขจุดเริ่ม และจุดสำเร็จแทนก็ได้
ตัวอย่างของตัวเลขต่าง ๆ เช่น
- เพิ่มยอดขายต่อพนักงานจาก 100,000 – 150,000 บาท ต่อเดือน
- ลดสินค้าคงคลังจาก 4.5 เป็น 4 เดือน ภายในสิ้นปี
- ลดค่าใช้จ่ายเดินทางเฉลี่ยเดือนละ 10,500 บาท เป็น 9,000 บาท
- ลดการสูญเสียวัตถุดิบจาก 3% เป็น 2% เมื่อเทียบยอดขาย
การทำตัวเลขเพื่อติดตามอย่างต่อเนื่องนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และที่สำคัญที่สุดคือ มีการติดตามตัวเลขทุกวัน และสามารถสรุปตัวเลขได้ทุกสัปดาห์ในบาง Objective และสรุปได้ทุกเดือนในบาง Objective (ตั้งตัวเลขของ Objective เป็น KPls และติดตามแบบ KPls ก็ได้)
การจะแต่งตั้งผู้บริหารหรือพนักงานให้ติดตามในแต่ละหัวข้อของ Objectiveนั้น ถ้าเป็นObjective ที่สำคัญ ก็ควรเป็นหน้าที่ติดตามของผู้จัดการ แต่ถ้าความสำคัญรอง ๆ ลงมา ก็อาจจะมอบให้รองผู้จัดการ ผู้ช่วยผู้จัดการ เลขานุการ หรือหัวหน้าแผนก ฯลฯ เป็นผู้ติดตามก็ได้
สิ่งที่สำคัญก็คือ ต้องพยายามให้มีโอกาสติดตาม Objective ได้ทุกสัปดาห์ และถ้าพบว่า Objective ข้อใดมีทีท่าว่าจะไม่บรรลุ ก็ให้หาวิธีเพิ่มความเข้มข้น หรือเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้บรรลุในสัปดาห์ถัดไป และชดเชยส่วนที่ขาดไปในสัปดาห์แรกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที และสามารถบรรลุ Objective ต่าง ๆ ได้ในแต่ละเดือน
ในการติดตาม Objective บางครั้งต้องเตรียมแผนสำรองไว้ด้วย ในกรณีที่แผนแรกมีทีท่าว่าจะไม่สามารถบรรลุ Objective ได้ ก็ให้เริ่มแผนสำรองที่ 1 หรือแผนสำรองที่ 2 ได้ทันที และไม่ใช่รอทำในเดือนถัดไป แต่ต้องเป็นสัปดาห์ถัดไปทันที (แผนสำรองเหล่านี้ก็สามารถเขียนไว้เป็นข้อใน List of Actions ซึ่ง List of Actions ผู้เขียนบอกไว้ว่าไม่จำเป็นต้องทำทุกข้อพร้อมกัน)
อุปสรรคของผู้ที่เตรียม MOP ก็คือชอบบอกตัวเองว่า คิดไม่ออก หรือ ไม่ได้ทำความเข้าใจกับความคิด ในแบบ MOP ซึ่งทำให้คิดผิดวิธี หรือบางคนก็ชอบพูดว่า คิดได้แต่ทำไม่ได้ ก็มี
ฉะนั้น MOP ต้องประกอบด้วย ความมุ่งมั่น ที่จะทำให้บรรลุ Mission ให้ได้ โดยอาศัย Objective ที่ต้องบรรลุ การเพิ่ม Policy และ Objective ระหว่างปี เป็นเรื่องที่ทำได้และดีด้วย แต่ต้องเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมให้บรรลุถึง Mission ได้
ความมุ่งมั่นที่จะบรรลุ Mission อย่างไม่มีเงื่อนไขนั้นสำคัญมากเพราะคนส่วนใหญ่เมื่อเวลามุ่งมั่นแล้ว มักจะคิดหรือพูดตามไปว่า “ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเรื่องนั้น…….. คนนั้น……..” แต่การมุ่งมั่นอย่างไม่มีเงื่อนไขนั้นก็คือ เราจะทำให้ถึง Mission ให้ได้ ไม่ว่าสถานการณ์แวดล้อมจะเป็นอย่างไรก็ตาม
ผู้เขียนใช้คำว่า “มุ่งมั่นอย่างไม่มีเงื่อนไข”
แต่เงื่อนไขของการทำ Mission ให้บรรลุได้ ต้อง……..สิ่งที่ตามมาอีกข้อหนึ่งก็คือ ความมั่นใจในตนเอง การคิดบวกและไม่กลัวคนเป็นจำนวนมาก เมื่อจะทำอะไรก็มักจะเริ่มต้นด้วยคำพูดว่า กลัวจะทำไม่ได้ กลัวสอบตก กลัวคนอื่นจะหมั่นไส้ เป็นต้น และยางคนก็ขอบคิดว่าตนเองไม่มีความสามารถพอ หรือไม่ได้เรียนมาทางด้านนี้จะทำงานทางด้านที่ไม่ได้เรียนมาได้อย่างไร หรือบางคนชอบคิดว่าตนเองไม่มีอำนาจ เป็นต้น เหล่านี้คือการคิดลบ และไม่มั่นใจในตนเอง
- มุ่งมั่น อย่างไม่มีเงื่อนไข
- มั่นใจ ในความสามารถของตน และไม่ตั้งเงื่อนไขว่าจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น ต้องมั่นใจว่าตนทำได้ด้วยตนเองใน Objective ที่รับผิดชอบ แม้ไม่มีใครช่วย ตนก็ทำสำเร็จได้ และถ้ามีคนมาช่วยก็จะยิ่งดีขึ้นไปอีก และเชื่อแน่ว่าตัวเราดีพอที่ใครๆก็อยากจะช่วย
- คิดบวก คิดว่าตนเองทำได้ ถ้าทำถึง Mission แล้วตัวผู้ทำเองก็จะดี องค์กรก็จะดี และทุกๆอย่างก็จะมีแต่ความสุข และไม่พูดว่า “ยาก” หรือ “เหนื่อย” คิดว่าการทำห้าบรรลุ Mission เป็นสิ่งท้าทาย และสนุกกับการทำได้ตลอดเวลา
- ไม่หวาดหวั่น คือไม่กังวลว่าทำแล้วจะไม่สำเร็จไม่กลัวว่าใครจะมาอิจฉาไม่กลัวว่าผู้ใหญ่จะมองไม่ เห็นผลงาน หรือมองไปในแง่ร้าย และไม่กลัวว่าผู้ใต้บังคับบัญชาจะไม่ให้ความร่วมมือ ฯลฯ
การที่มีความคิดที่ตรงกันข้ามกับ 4 ข้อนี้ แม้เพียงนิดหนึ่งเข้ามา จะทำให้พลังที่จะผลักดันให้บรรลุ Mission นั้นลดลง
4 ข้อข้างบนนี้จำเป็นต้องคิดบ่อย ๆ ถ้าเรามี 4 ข้อนี้อย่างเต็มเปี่ยม พลังจิตใต้สำนึกจะรับรู้ด้วย และเนื่องจากจิตใต้สำนึกมีพลังมหาศาลเมื่อเทียบกาบจิตสำนึก จิตใต้สำนึกก็จะมาช่วยเสริมให้การทำ Mission บรรลุผลสำเร็จได้ (ทำความเข้าใจเรื่องจิตใต้สำนึกเพิ่มเติมในบท MOP กับจิตใต้สำนึกเกี่ยวข้องกันอย่างไร หน้า 21)